บทที่ 4 การแบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมาย

บทที่ การแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย


การแบ่งส่วนตลาด หมายถึง การแบ่งกลุ่มลูกค้าหรือตลาด ของผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีความแตกต่างกันออกเป็นส่วนย่อยๆ หรือเป็นการจัดกลุ่มลูกค้าที่มีลักษณะและความต้องการคล้ายคลึงกัน ให้อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยๆ โดยพิจารณาจาก กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีความแตกต่างกันตาม อายุ เพศ รายได้ ระดับ การศึกษา อาชีพ ศาสนา โดยมีขั้นตอนในการแบ่งส่วนตลาด คือ 



ซึ่งการแบ่งส่วนสามารถแบ่งได้หลายแบบ ทางการตลาดแบ่งส่วนได้ ดังนี้


ระดับของการแบ่งส่วนตลาด แบ่งออกเป็น 4 ระดับ
1.การตลาดรวม (Mass marketing) ใช้กลยุทธ์การผลิตผลิตภัณฑ์แบบ ไม่แตกต่าง คือเน้นการผลิตจำนวนมาก และขายให้กับลูกค้าทุกคนเหมือน กัน ถือว่าไม่มีการแบ่งส่วนตลาดเลย 
2.การตลาดแบบแบ่งส่วน (Segment marketing) เป็นการแบ่งตลาด ออกเป็นส่วนๆ ตามความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน เพื่อผลิต สินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม 
3.การตลาดส่วนย่อย (Niche marketing) เป็นการแบ่งตลาดออกเป็น ส่วนย่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม 
4.การตลาดเฉพาะบุคคล (Micro marketing) เป็นการแบ่งส่วนตลาดที่ มีความสมบูรณ์มากที่สุด คือแบ่งตลาดออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะบุคคล  

ลักษณะของการแบ่งส่วนตลาดที่ดี
 1. ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ (Substantiality)
                2. ต้องสามารถวัดค่าออกมาได้ (Measurability)
                3. ต้องสามารถเข้าถึงตลาดได้ (Accessibility)             
                4. ต้องมีการตอบสนอง (Responsiveness)   
เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค (Bases for Segmenting Consumer Markets)


เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรม แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 
            1.  มหาภาค แบ่งตาม สินค้า ขนาดลูกค้า ชนิดลูกค้า
                   2.  จุลภาค    แบ่งตาม เงื่อนไข  กลยุทธ์การซื้อ เช่น การจัดส่ง  credit terms

การเลือกตลาดเป้าหมาย คือการที่ต้องรู้ถึง Market Segmentation
กลยุทธ์ในการกำหนดตลาดเป้าหมาย (Strategies for Selecting Target Markets)
-                   กลยุทธ์ตลาดรวม
-                   กลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว
-                   กลยุทธ์ตลาดหลายส่วน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Review: Distribution การจัดจำหน่ายหรือกระจายสินค้า